วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของรถ vespa






 เวสป้าเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่เมืองที่ถือเป็นบ้านเกิดของเวสป้าที่แท้จริง คือ เมืองปอนเตเดราเมืองอุตสาหกรรมในแคว้นทัสกานี ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานของบริษัท พิอาจิโอในปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆที่ชื่อไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนรักรถเวสป้า นี่คือเป้าหมายที่ห้ามพลาด





     เวสป้าไม่ใช่แค่มอไซค์สกู๊ตเตอร์ แต่เป็นไอดอลทางการออแบบยานพาหนะ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจของเวสป้า ไม่ได้เป็นแค่สัญลัษณ์ของประเทศอิตาลี แต่มันยังข้ามน้ำข้ามทะเล โอนสัญชาติชีวิตในเมืองไทยนานหลายสิบปี เราพบเห็นเวสป้าได้ตามตลาดนัดโปสเตอร์โฆษณายุคเก่า ในโรงรถของนักสะสมมอเตอร์ไซค์คลาสสิค ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยมานาน โรงงานพิอาจิโอไม่ต่างจากโรงงานอุสาหกรรมทั่วไป ที่เซอร์ไพรส์คือการอนุรักษ์เรื่องราวและขั้นตอนในการผลิตเวสป้าไว้เหมือนเดิม ขั้นตอนการประกอบเวสป้าหนึ่งคัน จะเริ่มจากโครงแผ่นเหล็กคุณภาพสูง นำมาขึ้นรูปเป็นทรงประกอบเข้าเป็นเฟรม พ่นสีตามลายที่กำหนด ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ เอกลัษณ์อย่างหนึ่งของเวสป้า คือวิธีการผลิตที่เน้นใช้มนุษย์ เช่น การพ่นสีตัวถัง ในขณะที่โรงงานมอเตอร์ไซค์แบรนด์อื่นใช้เครื่องยนต์ในการพ่นทั้งหมด เวสป้าใช้พนักงานพ่นสีทับ3-4ชั้น ก่อนส่งไปประกอบต่อ อีกส่วนที่โดดเด่นของเวสป้าคือ การใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลังในตัวถังในขณะที่แบรนด์อื่นจะใช้พลาสติกมาประกอบเพื่อลดทุนแต่ผลิตได้มากขึ้น แต่เวสป้าไม่เชื่อวิธีนั้น






Corradino D' Ascanio นักออกแบบที่เชี่ยงชาญในด้านการวิศวกรรมการบินก็ได้เข้ามาร่วมงานด้วยเขาเป็นคนออกแบบภาพร่างเกี่ยวกับยานยนต์แบบใหม่เรียบง่าย ไม่สิ้นเปลือง และสะดวกสบาย สวยงามควบคู่กันไป เมื่อเขาออกแบบได้รับความสนใจทันที มันไม่ใช่ความเพ้อฝันของเขาอีกต่อไป และความฝันของเขา คือการปฎิวัติวงการยานยนต์แบบใหม่ เขาใช้เทคโนโลยีของเครื่องบินบวกกับโครงสร้างแบบชิ้นเดียว ลักษณะ เป็นง่ามเหมือนล้อลงดินของเครื่องบิน ซึ่งง่ายต่อการถอดล้อ เขาเรียกมันว่า MP6 และในที่สุดยานยนต์ต้นแบบที่ทุกคนรอคอยกัน ก็ได้ถือกำเนิดจากการผลิตใน เดือน กุมภาพันธ์ 1945 ซึ่ง  Enrico Piaggio ได้ให้ฉายาว่า " Samba Una Vespa " เพราะมันมีลักษณะคล้ายตัวต่อ เสียงเครื่องยนต์ก็ดังคล้ายตัวต่ออีกด้วย นี้คือที่มาของชื่อรถ vespa ที่เรารู้จักกัน 




ลักษณะของรถที่คล้ายตัวต่อ

ในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1945 รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆถ้าในเวลาขับขี่รถติดก็มีที่กำบังกันน้ำ กระเด็นใส่ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า"มันเหมือนตัวต่อ ร้องเลย" ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อ (Wasp)



รุ่นแรกมี scooterขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมารถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและ ด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของVespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ1990 scooter รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ



สำหรับคนที่เล่นพวกรถคลาสสิคพวกนี้น่าจะมีกำลังทรัพย์มากพอสมควรนะ เพราะไหนจะค่าอะไหล่รถ ซึ่งบางอย่างก็หายาก ค่าแต่งรถ หรือบางทีอาจโดนใบสั่งจากตำรวจอีกเพราะเวสป้าบางคันมันก็ไม่มีทะเบียน

ในประเทศไทย Piaggio Group มีตัวแทนจำหน่ายรถเวสป้า ดำเนินธุรกิจโดย บริษัทไทยเจริญอะไหล่ยนต์ จำกัด















รุ่นต่าง ๆ ของ Vespa












รุ่นเก่า ๆ


  • Paperino - รุ่นแรก ผลิตในปี 1945 ที่ Biella






  • AMCA Troupes Aeról Portées Mle. 56 - ดัดแปลงโดยกองทัพฝรั่งเศส





  • VBC Super 150      








  • VLB Sprint 150







  • VBB Standard 150  


  • Vespa U - U มาจาก utilitaria (ภาษาไทย แปลว่า ประหยัด) เป็นรุ่นปี 1953 




  • PK 80 S / Elestart









  • P 125 E




  • T5 / Elestart (5 port engine 125cc P series)



รุ่นล่าสุด


  • ET2 50 - 2stroke
  • ET4 50 - 4stroke
  • ET4 125 (Euro Model)
  • ET4 150 (US model)




รุ่นปัจจุบัน


  • Vespa S 50 และ 125
  • GT60° 250cc
  • LX 50
  • LX 125
  • LXV 125 (ครบรอบ 60 ปีของรุ่น LX 125)
  • LX 150
  • GT 125
  • GT 200
  • GTS 250
  • GTV 250 (ครบรอบ 60 ปีของรุ่น GTS 250)
  • PX 125
  • PX 150 (ผลิตใหม่ในอเมริกาและแคนาดา ในปี 2004)
  • PX 200

รุ่นพิเศษ

  • Montlhéry - ผลิตในปี 1950 เพื่อทำลายสถิติในงาน Montlhéry
  • Torpedo - ผลิตในปี 1951 วิ่งได้เร็วถึง 171 กม/ชม















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น